ใบย่านางสมุนไพรพื้นบ้าน

ใบย่านาง
ภาพ : theactkk.net

ใบย่านาง สมุนไพรพื้นบ้านที่เรารู้จักกันดี นอกจากจะนำมาประกอบอาหารแล้ว ยังมีสรรถคุณมากมาย ได้แก่ ลดความอ้วน, แก้โรคเบาหวาน, ความดัน, หัวใจ, มะเร็ง, ภูมิแพ้, ร้อนใน, ไซนัสจมูกตัน, ไมเกรน, ริดสีดวงทวาร,ปอดร้อน, นอนกรน, กรดไหลย้อน ฯลฯ เรามาดูวิธีทำน้ำใบย่านาง เพื่อสุขภาพกันดีกว่าค่ะ

วิธีทำน้ำใบย่านาง

นำใบย่านาง 30-50ใบ ต่อน้ำ4 ลิตรครึ่ง ผสมใบเตย-10ใบ, หญ้าม้า10ใบ(ใบคล้ายใบอ้อย มีรสหวาน), ใบอ่อมแซบ(เบ็ญจรงค์) ประมาณ1หยิบมือ(10ยอด) (หากมีแต่ใบย่านางกับใบเตย อย่างอื่นหาไม่ได้ 2 อย่างก็ใช้ได้คะ) ขยี้กับน้ำสะอาด หรือปั่นด้วยเครื่องมือหมุน หรือใช้เครื่องไฟฟ้าชนิดเกลียว (ถ้าใช้เครื่องปั่นไฟฟ้า ที่ใช้ใบมีดปั่น ให้ใส่น้ำแข็ง5-7 ก้อน เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนในขณะปั่น ความร้อนจะทำลายเอ็นไซท์) ใส่น้ำเกือบเต็มโถปั่น ปั่นประมาณ30 วินาที หรือ 45 วินาที แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง หรือตะแกงตาถี่ (ที่ร่อนแป้งด้ามพาสติก) กากนำมาปั่นซ้ำ ได้อีก 7-8ครั้ง หรือจนกว่าจะหมดเขียว กรองเอาแต่น้ำสีเขียว ดื่มแทนน้ำได้ทั้งวัน เก็บไว้ในตู้เย็นไว้ดื่มได้ 4-5วัน ถ้ารสชาดเปลี่ยนสรรพคุณจะเริ่มเสื่อมแล้ว ถ้าเสียแล้วจะเริ่มมีรสเปรี้ยว

ควรดื่มวันละ1.5 ลิตรขึ้นไป ผู้ป่วยเบาหวานน้ำตาลจะลดลง เหมือนคนปกติทั่วไป  คนที่เป็นเบาหวาน ตับอ่อนไม่หลั่งอินซูลิน เหตุที่ตับอ่อนไม่หลั่งอินซูลิน เพราะร่างกายเกิดภาวะร้อนเกินไป ระบบการทำงานของร่างกายจึงป้องกันตนเอง ไม่ให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลิน เพื่อไม่ให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาล (หากร่างกายเผาผลาญน้ำตาลร่างกายจะยิ่งร้อนมากขึ้นไปอีก)  น้ำตาลเมื่อไม่ถูกเผาผลาญก็อยู่ในกระแสเลือด แต่ร่างกายนำไปใช้ไม่ได้ เซลล์จึงขาดน้ำตาล มีอาการอ่อนเพลียง่าย จึงต้องแก้ด้วยสมุนไพรฤทธิ์เย็น ใบย่านางมีฤทธิ์เย็นมาก เมื่อร่างกายได้เย็นลงแล้ว ระบบการทำงานของร่างกายจะสั่งตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน มาเผาผลาญน้ำตาลได้ตามปกติ และเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน เซลล์เมื่อได้รับน้ำตาลและใช้น้ำตาลได้ อาการอ่อนเพลียจึงหายไป

 

น้ำส้มสายชู

น้ำส้มสายชู
ภาพประกอบ office.bangkok.go.th

น้ำส้มสายชู เป็นเครื่องปรุงรสที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาตินับตั้งแต่ยุคโบราณ ผู้คนทั่วโลกยอมให้แบคทีเรีย เปลี่ยนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของตนให้กลายเป็นน้ำส้มสายชู น้ำส้มสายชูหมักธรรมชาติแต่ละชนิดมีรสชาติ กลิ่น และสีสันแตกต่างกันไปนั้น ได้มาจาก น้ำอ้อย กากน้ำตาล ผลไม้หรือธัญพืช น้ำส้มสายชูสำคัญอย่างยิ่งต่อการถนอมอาหาร และมีบทบาทสำคัญในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและเวชภัณฑ์ น้ำส้มสายชูทุกชนิดต่างมีความเป็นกรดที่เปรี้ยวเข็ดฟัน จนช่วยให้ปุ่มรับรสที่เฉื่อยชากลับมาสดชื่นและกระตุ้นความอยากอาหารได้

ประเภทของน้ำส้มสายชู

1 . น้ำส้มสายชูหมัก คือน้ำส้มสายชูที่ได้จากการหมัก เมล็ดธัญพืชเช่น ข้าวข้าวโพด ผลไม้ เช่น สับปะรด แอ๊ปเปิ้ล หรือ น้ำตาล กากน้ำตาล (molass) วัตถุดิบที่มี น้ำตาล (sugar) เช่น ผลไม้ต่างๆ เป็นอาหารของยีสต์ได้โดยตรง ส่วน วัตถุดิบที่มีสตาร์ซ (starch) เช่น ข้าวจะต้องเปลี่ยนเป็นโมเลกุลของน้ำตาลก่อน

2. น้ำส้มสายชูกลั่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเอทธิลอัลกอฮอล์กลั่นเจือจาง (Dilute Distilled Alcohol) มาหมักกับเชื้อน้ำส้มสายชู หรือเมื่อหมักแล้วนำไปกลั่น (distillation) หรือได้จากการนำน้ำส้มสายชูหมักมากลั่น น้ำส้มสายชูกลั่นจะต้องมีลักษณะใส ไม่มีตะกอนและมีปริมาณกรดน้ำส้มไม่น้อยกว่า 4%

3. น้ำส้มสายชูเทียม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเอากรดน้ำส้ม (Acetic acid) ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นทางเคมี เป็นกรดอินทรีย์มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนมีความเข้มข้นประมาณ 95 % มาเจือจางจนได้ปริมาณกรด 4 – 7% ลักษณะใส ไม่มีสี กรดน้ำส้มที่นำมาเจือจางจะต้องมีความบริสุทธิ์สูงเหมาะสมที่จะนำมาเป็นอาหารได้และน้ำที่ใช้เจือจางต้องเหมาะสมที่จะใช้ดื่มได้

 

เห็ดหอม

เห็ดหอม
ภาพประกอบ beauty.yopi.co.th

เห็ดหอม หรือ เห็ดชิตาเกะ เป็นอาหารแปลกและรสชาติดีที่สุดอย่างหนึ่งของเอเชีย มีกลิ่นหอมของเนื้อไม้ และเปี่ยมไปด้วยคุณสมบัติในการบำรุงสุขภาพและคุณสมบัติทางยา เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง และสามารถใช้แทนโปรตีนได้

คนโบราณเชื่อกันว่าเห็ดชิตาเกะเป็นยาอายุวัฒนะทำให้ร่างกายแข็งแรงช่วยชะลอความชราได้ คนจีนและคนญี่ปุ่นจึงนิยมรับประทานกันมาก  ย้อนไปในศตวรรษที่ 14 มีบันทึกไว้ว่าแพทย์จีนใช้เห็ดชิตาเกะปรุงเป็นยาอายุวัฒนะทำให้เลือดลมดี รักษาโรคหวัด โรคหัวใจ แก้พิษงู และต้านการเติบโตของเนื้อร้าย  มีงานวิจัยหลายชิ้นในญี่ปุ่นพบว่า เห็ดชิตากะ มีสารสำคัญที่มีชื่อว่า อิริตาดีนีน (eritadenine) ซึ่งทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดลงได้อย่างน่าอัศจรรย์และมีสารเลนติแนน (lentinan) ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพในการต่อสู้ยับยั้งหรือป้องกันการเติบโตของเซลล์เนื้องอกต่าง ๆ ได้ดี นักวิจัยสมัยใหม่ซึ่งได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับเห็ดชิตาเกะ ก็พบว่า เห็ดชิตาเกะมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ต้านโรคมะเร็งและโรคร้ายต่าง ๆ จากเชื้อไวรัส

ประโยชน์ต่อสุขภาพ

  1. เห็ดหอมแห้งมีโปรตีนถึง 25 เปอร์เซ็นต์ มีกรดอะมิโนที่จำเป็นทั้ง 8 ชนิด เห็ดหอมอุดมไปด้วย กรดอะมิโนลิวซีน และไลซีน ซึ่งไม่มีในธัญพืชหลายชนิด มีกรดกลูตามิกปริมาณสูง ซึ่งกรดชนิดนี้ถือกันว่าเป็น อาหารสมอง เนื่องจากสามารถกระตุ้นการทำงานของสารสื่อประสาท และยังนำโพแทสเซียมเข้าสู่สมองอีกด้วย
  2. เป็นแหล่งวิตามินและเกลือแร่หลายชนิด รวมถึงวิตามินบี 12 ที่หายาก นอกจากนั้นยังมี ไทอามีน ไรโบฟลาวิน ไนอาซิน ทองแดง โพแทสเซียม เซเลเนียม สังกะสี เส้นใยอาหารและเอนไซม์ต่างๆ เห็ดหอมยังมีเออร์โกสเตรอล ซึ่งแสงแดดจะช่วยเปลี่ยนให้เป็นวิตามินดี